- Details
- Written by Super User
- Category: ประกันคุณภาพ
- Hits: 817
เกณฑ์ประกันคุณภาพ
เกณฑ์การดำเนินการตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และ
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ.2561 (5 ด้าน 25 ข้อ)
ด้านที่ 1 ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา
1.1 การดูแลและแนะแนวผู้เรียน
1.2 ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์
1.3 ผู้เรียนมีสมรรถนะในการเป็นผู้ประกอบการหรือการประกอบอาชีพอิสระ
1.4 ผลงานของผู้เรียนด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์หรืองานวิจัย
1.5 ผลการแข่งขันทักษะวิชาชีพ
1.6 ผลการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
1.7 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET)
1.8 การมีงานทําและศึกษาต่อของผู้สําเร็จการศึกษา
ด้านที่ 2 ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
2.1 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ
2.1.1 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างเป็นระบบ
2.1.2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ หรือปรับปรุงรายวิชา หรือ
ปรับปรุงรายวิชาเดิม หรือกําหนดรายวิชาเพิ่มเติม
2.2 การจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
2.2.1 คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ
2.2.2 การจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
และนําไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
ด้านที่ 3 ด้านครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา/ภาควิชา
3.1 ครูผู้สอน
3.1.1 การจัดการเรียนการสอน
3.1.2 การบริหารจัดการชั้นเรียน
3.1.3 การพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ
3.2.1 การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม
3.2.2 การบริหารจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา
ด้านที่ 4 ด้านการมีส่วนร่วม
4.1 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
4.2 การระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการเรียนการสอน
4.3 การบริการชุมชนและจิตอาสา
ด้านที่ 5 ด้านปัจจัยพื้นฐาน
5.1 อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน หรืองานฟาร์ม
5.2 ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน
5.3 แหล่งเรียนรู้และศูนย์วิทยบริการ
5.4 ระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการใช้งานด้านสารสนเทศภายในสถานศึกษา
5.5 การเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน
- Details
- Written by Super User
- Category: ประกันคุณภาพ
- Hits: 842
คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ.2561
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ.2561 สําหรับสถานศึกษา
ที่จัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา ใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา
ด้านอาชีวศึกษาให้เป็นไปตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 สํานักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษา จึงได้กําหนดเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐาน
การอาชีวศึกษา พ.ศ.2561 จํานวน 5 ด้าน ดังนี้
ด้านที่ 1 ด้านผู้เรียนและผู้สําเร็จการศึกษา
1.1 การดูแลและแนะแนวผู้เรียน
1.2 ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
1.3 ผู้เรียนมีสมรรถนะในการเป็นผู้ประกอบการหรือการประกอบอาชีพอิสระ
1.4 ผลงานของผู้เรียนด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์หรืองานวิจัย
1.5 ผลการแข่งขันทักษะวิชาชีพ
1.6 ผลการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
1.7 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา(V-NET)
1.8 การมีงานทําและศึกษาต่อของผู้สําเร็จการศึกษา
ด้านที่ 2 ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
2.1 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ
2.1.1 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างเป็นระบบ
2.1.2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ หรือปรับปรุงรายวิชา หรือปรับปรุง
รายวิชาเดิม หรือกําหนดรายวิชาเพิ่มเติม
2.2 การจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
2.2.1 คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ
2.2.2 การจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญและ
นําไปใช้ในการจัดการเรียน การสอน
ด้านที่ 3 ด้านครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา
3.1 ครูผู้สอน
3.1.1 การจัดการเรียนการสอน
3.1.2 การบริหารจัดการชั้นเรียน
3.1.3 การพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ
3.2 ผู้บริหารสถานศึกษา
3.2.1 การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม
3.2.2 การบริหารจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา
ด้านที่ 4 ด้านการมีส่วนร่วม
4.1 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
4.2 การระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการเรียนการสอน
4.3 การบริการชุมชนและจิตอาสา
ด้านที่ 5 ด้านปัจจัยพื้นฐาน
5.1 อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน หรืองานฟาร์ม
5.2 ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน
5.3 แหล่งเรียนรู้และศูนย์วิทยบริการ
5.4 ระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการใช้งานด้านสารสนเทศภายในสถานศึกษา
5.5 การเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน
- Details
- Written by Super User
- Category: ประกันคุณภาพ
- Hits: 898
มาตรฐานการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และ
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ.2561
แนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2561
เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และ
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ.2561
----------------------------------------------------------
มาตรฐานการอาชีวศึกษา หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ และมาตรฐาน
ในการจัดการอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการส่งเสริม การกำกับดูแล การตรวจสอบ
การประเมินผล และการประกันคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษา
มาตรฐานการอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
พ.ศ. 2561 เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และ
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประกอบด้วยมาตรฐาน 3 มาตรฐาน จำนวน 9 ด้าน ดังนี้ คือ
มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของผู้สําเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์
การจัดการอาชีวศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้สําเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาให้มีความรู้
มีทักษะและ การประยุกต์ใช้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษา และมีคุณธรรม
จริยธรรม และคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ ประกอบด้วยประเด็นการประเมิน ดังนี้
1.1 ด้านความรู้
ผู้สําเร็จการศึกษาอาชีวศึกษามีความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง ตามหลักการ ทฤษฏี และ
แนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เรียนหรือทํางาน โดยเน้นความรู้เชิงทฤษฏี และหรือข้อเท็จจริง
เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิ อาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษา
1.2 ด้านทักษะและการประยุกต์ใช้
ผู้สําเร็จการศึกษาอาชีวศึกษามีทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ 21 ทักษะวิชาชีพ และทักษะชีวิต
เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษา สามารถประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และการ
ดํารงชีวิตอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้อย่างมีความสุขตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและมีสุขภาวะที่ดี
1.3 ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ผู้สําเร็จการศึกษาอาชีวศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติและกิจนิสัยที่ดี
ภูมิใจ และรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทย เคารพกฎหมาย เคารพสิทธิของผู้อื่น มีความรับผิดชอบ
ตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีจิตสาธารณะ
และมีจิตสํานึกรักษ์สิ่งแวดล้อม
มาตรฐานที่ 2 การจัดการอาชีวศึกษา
สถานศึกษามีครูที่มีคุณวุฒิการศึกษาและจํานวนตามเกณฑ์ที่กําหนด ใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ
ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ และบริหารจัดการทรัพยากรของสถานศึกษาอย่าง
มีประสิทธิภาพ มีความสําเร็จในการดําเนินการตามนโยบายสําคัญของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงาน
ที่กํากับดูแลสถานศึกษา ประกอบด้วยประเด็น การประเมิน ดังนี้
2.1 ด้านหลักสูตรอาชีวศึกษา
สถานศึกษาใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชน
สถานประกอบการ ตลาดแรงงาน มีการปรับปรุงรายวิชาเดิม หรือกําหนดรายวิชาใหม่ หรือกลุ่มวิชาเพิ่มเติม
ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการของตลาดแรงงาน โดยความร่วมมือกับ
สถานประกอบการหรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.2 ด้านการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา
สถานศึกษามีครูที่มีคุณวุฒิการศึกษาและมีจํานวนตามเกณฑ์ที่กําหนด ได้รับการพัฒนา
อย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง เพื่อเป็นผู้พร้อมทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรมและความเข้มแข็งทางวิชาการและ
วิชาชีพ จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนทั้งวัยเรียน
และวัยทํางาน ตามหลักสูตรมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษา ตามระเบียบหรือ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนของ แต่ละหลักสูตร ส่งเสริม สนับสนุน
กํากับ ดูแลให้ครูจัดการเรียนการสอนรายวิชาให้ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์
2.3 ด้านการบริหารจัดการ
สถานศึกษาบริหารจัดการบุคลากร สภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ ห้องเรียน
ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน ศูนย์วิทยบริการ สื่อ แหล่งเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ครุภัณฑ์ และ
งบประมาณของสถานศึกษาที่มีอยู่อย่างเต็มศักยภาพและมีประสิทธิภาพ
2.4 ด้านการนํานโยบายสู่การปฏิบัติ
สถานศึกษามีความสําเร็จในการดําเนินการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามนโยบายสําคัญ
ที่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กํากับดูแลสถานศึกษามอบหมาย โดยความร่วมมือของผู้บริหาร ครู
บุคลากรทางการศึกษาและ ผู้เรียน รวมทั้งการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนจากผู้ปกครอง ชุมชน
สถานประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
มาตรฐานที่ 3 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
สถานศึกษาร่วมมือกับบุคคล ชุมชน องค์กรต่าง ๆ เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ มีการ
จัดทํานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัย ประกอบด้วยประเด็นการประเมิน ดังนี้
3.1 ด้านความร่วมมือในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
สถานศึกษามีการสร้างความร่วมมือกับบุคคล ชุมชน องค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และ
ต่างประเทศ ในการจัดการศึกษา การจัดทรัพยากรทางการศึกษา กระบวนการเรียนรู้ การบริการทาง
วิชาการและวิชาชีพ โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาผู้เรียนและคนในชุมชนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้
3.2 ด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัย
สถานศึกษาส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดทํานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัย
โดย ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียนหรือร่วมกับบุคคล ชุมชน องค์กรต่าง ๆ ที่สามารถ
นําไปใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ และเผยแพร่สู่สาธารณชน